หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2553

นัยน์ตากับการมองเห็น

นัยน์ตาของคนมีรูปร่างค่อนข้างกลมอยู่ภายในเบ้าตา มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 2.5 เซนติเมตร แบ่งเป็น 3 ชั้น ได้แก่ สเคลอรา (sclera) โครอยด์ (choroids) และเรตินา (retina)


สเคลอรา (sclera) เป็นผนังชั้นนอกสุดของนัยน์ตา มีลักษณะเหนียวแต่ไม่ยืดหยุ่น ส่วนหน้าสุดของ


สเคลอราจะโปร่งใส และนูนออกมา เรียกว่า กระจกตา (cornea) กระจกตามีความสำคัญมากถ้าเป็นฝ้าทึบจะมีผลต่อการมองเห็น


 
โครอยด์ (choroids) เป็นผนังที่ถัดเข้ามาจากสเคลอรา มีหลอดเลือดมาเลี้ยง และมีสารสีแผ่กระจายอยู่เป็นจำนวนมาก เพื่อป้องกันไม่ให้แสงสว่างทะลุผ่านชั้นเรตินาไปยังด้านหลังของนันย์ตาโดยตรงประกอบ ด้วยม่านตา (iris) และรูม่านตา (pupil) โดยม่านตาจะยื่นลงมาจากด้านบนและด้านล่างของผนังโครอยด์คล้ายกับเป็นผนังกั้นบางส่วนของเลนส์ ประกอบด้วยกล้ามเนื้อวง และกล้ามเนื้อที่เรียงตัวตามแนวรัศมี


ทำหน้าที่ควบคุมปริมาณแสงที่ผ่านเข้าสู่นัยน์ตา ส่วนรูม่านตาเป็นช่องกลางที่เหลือให้แสงผ่านเข้า มีลักษณะกลม มองเห็นเป็นสีดำ ขนาดของรูม่านตาจะแคบหรือกว้างขึ้นอยู่กับม่านตา


เรตินา (retina) เป็นผนังชั้นในสุดของนัยน์ตา ประกอบด้วย เซลล์รับแสง เซลล์ประสาท 2 ขั้วและใยประสาทของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 2

คำถามชวนคิด
- ผนังชั้นใดของนัยน์ตาที่เปรียบได้กับม่านบังแสงไม่ให้แสงทะลุผ่านชั้นเรตินาไปยังด้านหลังของนัยน์ตาโดยตรง

วันอาทิตย์ที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ระบบประสาทส่วนนอก

ระบบประสาทรอบนอก 


เส้นประสาทสมอง

           สมองทุกส่วนมีเส้นประสาทสมองแยกออกมาเป็นคู่ๆ เพื่อรับสัญญาณความรู้สึก และออกคำสั่งควบคุมหน่วยปฏิบัติงาน โดย
                  เส้นประสาทสมองคู่ที่ 1 ทำหน้าที่รับความรู้สึกจากจมูก
                  เส้นประสาทสมองคู่ที่ 2 ทำหน้าที่รับความรู้สึกจากตา
                  เส้นประสาทสมองคู่ที่ 3 และ 4 ทำหน้าที่สั่งการไปยังกล้ามเนื้อของลูกตา
                  เส้นประสาทสมองคู่ที่ 5 ทำหน้าที่รับความรู้สึกจากใบหน้าและฟัน และทำหน้าที่สั่งการไปยังใบหน้าและฟัน
                  เส้นประสาทสมองคู่ที่ 6 ทำหน้าที่สั่งการไปยังกล้ามเนื้อของลูกตา
                  เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ทำหน้าที่รับความรู้สึกจากตุ่มรับรส และสั่งการไปยังต่อมน้ำลายและกล้ามเนื้อใบหน้า
                  เส้นประสาทสมองคู่ที่ 8 ทำหน้าที่รับความรู้สึกจากหู
                  เส้นประสาทสมองคู่ที่ 9 ทำหน้าที่รับความรู้สึกจากคอหอย และตุ่มรับรส และสั่งการไปยังคอหอยและต่อมน้ำลาย
                  เส้นประสาทสมองคู่ที่ 10 ทำหน้าที่รับความรู้สึกจากช่องอก ช่องท้อง และสั่งการไปยังช่องอก ช่องท้อง
                  เส้นประสาทสมองคู่ที่ 11 ทำหน้าที่สั่งการไปยังกล้ามเนื้อที่ใช้ยกไหล่
                  เส้นประสาทสมองคู่ที่ 12 ทำหน้าที่สั่งการไปยังลิ้น

คำถามน่าคิด

1.  เส้นประสาทสมองคู่ใดบ้างเป็นเส้นประสาทรับความรู้สึก
2.  เส้นประสาทสมองคู่ใดบ้างเป็นเส้นประสาทสั่งการ
3.  เส้นประสาทสมองคู่ใดบ้างเป็นเส้นประสาทผสม
                    4.  ขณะอ่านหนังสือเส้นประสาทสมองคู่ใดบ้างทำงาน
                         เกี่ยวข้องโดยตรง
                              5.  การรับรสอาหารเป็นหน้าที่ของเส้นประสาทสมองคู่ใด

วันเสาร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2553

มารู้จักฮอร์โมนกันค่ะ

ฮอร์โมน

               
                   ฮอร์โมน คือ สารเคมีที่สร้างมาจากต่อมไร้ท่อ( endocrine gland ) หรือเนื้อเยื่อ (endocrine tissue) แล้วเข้าสู่ระบบหมุนเวียนเลือด ลำเลียงไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อควบคุมการทำงานของอวัยวะเป้าหมาย ( target organ ) ฮอร์โมนส่วนใหญ่เป็นสารประเภทโปรตีน อามีนและสเตียรอยด์

ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง



        ต่อมใต้สมอง( pituitary gland) อยู่ตรงส่วนล่างของสมองแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ
         - ต่อมใต้สมองส่วนหน้า( anterior lobe of pituitary gland )
        - ต่อมใต้สมองส่วนกลาง ( intermediated lobe of pituitary )
        - ต่อมใต้สมองจากต่อมใต้สมองส่วนหลัง( posterior lobe of pituitary gland )





ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้า ( anterior lobe of pituitary gland )


            

                      เป็นส่วนที่ไม่ได้เกิดจากเนื้อเยื่อประสาท การทำงานอยู่ภายใต้การควบคุมของ hypothalamus สร้างฮอร์โมนประเภทสารโปรตีนหรือ
พอลิเพปไทด์ ได้แก่


1. Growth hormone(GH) หรือ Somatotrophic hormone(STH) ฮอร์โมนนี้หลั่งตอนหลับมากกกว่าตอนตื่นและตอนหิวมากกว่าช่วงปกติ  เป็นฮอร์โมนที่ประกอบด้วย polypeptide ที่มีกรดอมิโน 191 ตัว มีธาตุกำมะถันอยู่ในรูป disulphid  กระตุ้นให้เกิดการเจริญของกล้ามเนื้อและกระดูกโดยอาศัย thyroxin และ inrulin เป็นตัวคะตะลิสต์    มีอิทธิพลกระตุ้นการเจริญและเพิ่มความยาวของกระดูกกระตุ้นการเจริญของเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆของร่างกาย

ความผิดปกติเมื่อร่างกายขาดหรือมีมากเกินไป


- ถ้าร่างกายขาด GH ในเด็ก ทำให้ร่างกายเตี้ยแคระ (สติปัญญาปกติ) เรียก Dawrfism ในผู้ใหญ่ มีอาการผอมแห้ง น้ำตาลในเลือดต่ำ มีภาวะทนต่อความเครียด(stess) สูงเรียกว่า Simmom’s disease


- ถ้าร่างกายมี GH มากเกินไป ในวัยเด็ก จะทำให้ร่างกายเติบโตสูงใหญ่ผิดปกติ น้ำตาลในเลือดสูง ทนต่อความเครียดได้น้อย เรียกว่า Gigantism ในผู้ใหญ่ กระดูกขากรรไกร คางจะยาวผิดปกติ ฝ่ามือ ฝ่าเท้าโต จมูกใหญ่ ฟันใหญ่ และห่างเรียก Acromegaly




2. Gonadotrophin หรือ Gonadotrophic hormone ประกอบด้วยฮอร์โมนที่สำคัญ 2 ชนิด คือ


2.1 Follicle stimulating hormone (FSH) ทำหน้าที่กระตุ้นฟอลลิเคิลให้สร้างไข่และไข่สุก มีการสร้างฮอร์โมน estrogen ออกมา และกระตุ้น seminiferrous tubule ให้สร้างอสุจิ


2.2 Luteinizing hormone (LH) ทำหน้าที่กระตุ้นให้ไข่ตกจากฟอลลิเคิล สำหรับในเพศชาย กระตุ้นให้ interstitial cells ในอัณฑะสร้างฮอร์โมนเพศชาย ซึ่งอาจเรียกว่า Interstitial Cell Stimulating Hormone (ICSH)


3. Prolactin หรือ Lactogenic hormone (LTH) ทำหน้าที่กระตุ้นการเจริญของต่อมน้ำนมในเพศหญิง นอกจากนี้ทำหน้าที่ร่วมกับ androgen ในเพศชายกระตุ้นต่อมลูกหมาก การบีบตัวของท่อนำอสุจิ การสร้างน้ำเลี้ยงอสุจิ



4. Andrenocorticotrophin หรือ Adrenocorticotrophic hormone (ACTH)   มีหน้าที่กระตุ้นทั้งการเจริญเติบโตและการสร้างฮอร์โมนของต่อมหมวกไตส่วนนอกให้สร้างฮอร์โมนของต่อมหมวกไตส่วนนอก ให้สร้างฮอร์โมนตามปกติและกระตุ้น การหลั่ง insulin การหลั่ง GH ควบคุมการทำงานของต่อมเหนือไตชั้นนอก ( adrenal cortex ) ทำให้สีของสัตว์เลือดเย็นเข้มขึ้น มีโครงสร้างเหมือน MSH


5. Thyroid Stimulation hormone (TSH) ทำหน้าที่กระตุ้นให้มีการเพิ่มการนำไอโอดีนเข้าต่อมไทรอยด์ เพื่อเพิ่มการสังเคราะห์ thyroxine hormone

การหลั่งฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองส่วนหน้าจะถูกควบคุมโดยฮอร์โมนที่สร้างจากสมองส่วน hypothalamus มีฮอร์โมนที่กระตุ้นและยับยั้งการผลิตฮอร์โมนของต่อมใต้สมองส่วนหน้าและมีชื่อเรียกตามผลที่แสดงออกต่อการสร้างฮอร์โมน เช่น

- ฮอร์โมนกระตุ้นการหลั่ง GH ( GH releasing hormone, GRH) กระการหลั่งฮอร์โมน growth

- ฮอร์โมนยับยั้งการหลั่ง GH (GH inhibiting hormone,GIH) ยับยั้งไม่ให้มีการหลั่งฮอร์โมน growth

- ฮอร์โมนกระตุ้นการหลั่ง prolactic (Prolactin releasing hormone,PRH) กระตุ้นให้ Prolactin หลั่งออกมา

- ฮอร์โมนควบคุมการหลั่ง thyroid (Thyroid releasing hormone,TRH) กระตุ้นการหลั่ง TSH

- ฮอร์โมนกระตุ้นการหลั่ง Gn (Gonadotrophin releasing hormone,GnRH) กระตุ้นให้มีการหลั่ง LH และ FSH

ฮอร์โมนเหล่านี้รวมเรียกว่า ฮอร์โมนประสาท เพราะสร้างมาจากเซลล์พิเศษ ซึ่งเปลี่ยนแปลงมาจากเซลล์ประสาทภายใน hyprothalamus

อย่าเพิ่งท้อนะคะ  อ่านครั้งแรกอาจจะดูยาก 







วันศุกร์ที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2553